f
title
แขวงทางหลวงอ่างทอง
Angthong Highway
กรมทางหลวงเปิด 8 ปฏิบัติการต่อเนื่อง ลุยแก้ไขปัญหามลพิษ PM 2.5
ลงวันที่ 06/03/2563

กรมทางหลวงเปิด 8 ปฏิบัติการต่อเนื่อง ลุยแก้ไขปัญหามลพิษ PM 2.5เปิด 8 ปฏิบัติการกรมทางหลวง ลุยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง หวังลดผลกระทบประชาชน โดยการเข้มงวดงานก่อสร้าง-บำรุงทางให้ก่อฝุ่นน้อยที่สุด ติดตั้งเครื่องปล่อยละอองน้ำจับฝุ่น 15 แห่ง ร่วมมือหลายหน่วยงานเข้มใช้รถควันดำ จอดแช่ ลดค่าธรรมเนียมผ่านทาง M-Pass และEasy Pass จูงใจใช้เพิ่ม ลดปัญหารถติดหน้าด่านก่อมลพิษ

จากนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเดินหน้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า กรมทางหลวงได้กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง 8 ด้าน เพื่อให้สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง และหมวดทางหลวงทั่วประเทศนำไปดำเนินการ โดยได้กำหนดการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองใน 2 กรณี คือ กรณีที่ระดับปริมาณฝุ่น PM 2.5 มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และกรณีเกิดสถานการณ์วิกฤตที่ระดับปริมาณฝุ่น PM 2.5 มีค่าเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไปมาตรการแรก การป้องกันและลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองในงานก่อสร้างและบำรุงทาง บนท้องถนน และในการปฏิบัติงานของกรมทางหลวง รวมทั้งเข้มงวดมาตรการป้องกันและลดฝุ่นละออง เช่น การปิดคลุมวัสดุก่อสร้างในการเก็บกองและขนย้าย การตรวจสอบสภาพเครื่องจักรก่อสร้างให้อยู่ในสภาพดี ห้ามใช้เครื่องจักรที่ก่อให้เกิดเขม่าควันดำและการงดใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วกับเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น
มาตรการที่สอง กรมทางหลวงจะดำเนินการปล่อยฝอยละอองน้ำความดันสูง (High Pressure Water System) เพื่อดักจับฝุ่น ซึ่งปัจจุบันติดตั้งไว้จำนวน 15 แห่ง ดำเนินการช่วงเวลา 18.00-23.00 น.ณ บริเวณด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง 1 มุ่งหน้าบางพลี 2 จุด, ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง 2 มุ่งหน้าบางปะอิน 2 จุด, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต, โรงเรียนหอวัง ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต, ถนนพระรามที่ 2 หน้าตลาดมารวย, ถนนพระรามที่ 2 ทางเข้าถนนบางกระดี่, ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางลาดกระบัง ขาเข้า, ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางลาดกระบัง ขาออก, ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบางปะกง Type A, ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางหนองขาม 1,ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางหนองขาม 3, ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางโป่ง 3 และด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางพัทยา ขาออก
มาตรการที่สาม การเร่งระบายการจราจรเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ก่อสร้าง และด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางโดยศึกษาและจัดทำแผนแก้ปัญหาด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ให้รถยนต์สามารถผ่านได้โดยเร็ว ไม่หยุดชะงัก และเข้มงวดไม่ให้มีการจอดรถยนต์ในพื้นที่ผิวถนนที่มีการจราจรแออัด จัดการจราจรให้ลื่นไหล ลดการติดขัด
มาตรการที่สี่ การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมการเกิดปัญหาไฟไหม้ข้างทาง ตลอด 24 ชั่วโมง
มาตรการที่ห้า การจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับการลดฝุ่น PM 2.5 เช่น การร่วมเป็นคณะอนุกรรมการกํากับดูแล และติดตามการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง รวมทั้งประสานความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อเกาะติดสถานการณ์ PM 2.5 อย่างใกล้ชิด และการตรวจ
จับรถยนต์ที่มีเขม่าควันดำ
มาตรการที่หก การประสานความร่วมมือกับจังหวัดในการฉีดพ่นละอองน้ำลดฝุ่น และการบำรุงรักษาต้นไม้ริมทางหลวงให้อยู่ในสภาพดี เพื่อช่วยจับฝุ่นละอองจากถนน
มาตรการที่เจ็ด การร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในการรณรงค์และกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ใช้ทางหันมาใช้ M-Pass และ Easy Pass โดยได้เพิ่มจุดรับสมัครและเติมเงิน M-Pass บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 5 จุด คือ ด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ทับช้าง 1, ด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ทับช้าง 2, Service Area ขาเข้า, Service Area ขาออก และด่านเก็บค่าผ่านทางฯ โป่ง 3 ตลอดจนการลดค่าธรรมเนียมผ่านทางสำหรับดอนเมืองโทลล์เวย์ ด้วยการจำหน่ายคูปองส่วนลดร้อยละ 5 ต่อเล่ม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันนี้ถึง 21 มิ.ย. 2563 ซึ่งคูปองสามารถใช้ได้นาน 5 ปี
มาตรการที่แปด การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ PM 2.5 ไปยังประชาชน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลปัญหาการเกิดไฟไหม้ข้างทาง โดยสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)“กรมทางหลวงเป็นห่วงสุขภาพของผู้ใช้ทางและประชาชน จึงเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง และยังกำชับการเดินทางของบุคลากรของกรมทางหลวง โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถไฟฟ้าเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ตลอดจนให้ใช้รถยนต์ร่วมกันในการเดินทางเส้นทางเดียวกัน รวมทั้งห้ามกำจัดขยะโดยการเผาอย่างเด็ดขาด และรณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงาน ในสำนักงาน” นายสราวุธ กล่าว

 

ปฏิบัติการที่ 1
กรณี PM 2.5 มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
กําหนดมาตรการป้องกันและลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น
- ในงานก่อสร้างและบำรุงทาง เช่น การฉีดพรมน้ำ
การตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดี ไม่ก่อให้เกิดเขม่าควันดำ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม
- บนท้องถนน เช่น ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตรวจจับยานพาหนะที่มีเขม่าควันดำ เฝ้าระวัง
การเผาไหม้ข้างทาง ดูแลต้นไม้ริมทางให้อยู่ในสภาพดี
- ในการปฏิบัติงานของกรมทางหลาง เช่น ลด
การเดินทางของบุคลากร ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ประหยัดพลังงานในสำนักงาน

ปฏิบัติการที่ 2
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
ปล่อยฝอยละอองน้ำความดันสูงลดฝุ่นบนทางหลวง 15 แห่ง
บริเวณ
1. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง 1 มุ่งหน้าบางพลี 2 จุด
2. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง 2 มุ่งหน้า
บางปะอิน 2 จุด
3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต
4. โรงเรียนหอวัง ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต
5. ถนนพระรามที่ 2 หน้าตลาดมารวย
6. ถนนพระรามที่ 2 ทางเข้าถนนบางกระดี่
7. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางลาดกระบัง ขาเข้า
8. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางลาดกระบัง ขาออก
9. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบางปะกง Type A
10. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางหนองขาม 1
11. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางหนองขาม 3
12. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางโป่ง 3
13. ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางพัทยา ขาออก

ปฏิบัติการที่ 3
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
เร่งระบายการจราจร แก้ปัญหาการจราจรติดขัดทันที
ในพื้นที่ก่อสร้างและด่านเก็บค่าผ่านทาง

ปฏิบัติการที่ 4
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เฝ้าระวัง เตรียมพร้อมดับไฟ
ข้างทาง พร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมง

พบไฟป่าข้างทางแจ้ง 1586

ปฏิบัติการที่ 5
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
จัดตั้งคณะทำงาน และประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลด PM 2.5 เช่น
- ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการกํากับดูและและติดตามการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง"
- ประสานความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ เพื่อเกาะติดสถานการณ์ PM 2.5 อย่างใกล้ชิด

ปฏิบัติการที่ 6
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
ประสานความร่วมมือกับจังหวัดในการฉีดพ่นละอองน้ำ
ลดฝุ่น

ปฏิบัติการที่ 7
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยรณรงค์ให้ผู้ใช้ทาง
หันมาใช้ M-Pass และ Easy Pass เพิ่มความคล่องตัว
ในการจราจร

ปฏิบัติการที่ 8
กรมทางหลวงร่วมลดฝุ่น PM 2.5
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ PM 2.5 ไปยังพี่น้อง
ประชาชนเพื่อการดูแลและป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี
และร่วมเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแสการเผาป่าข้างทาง


'