f
title
แขวงทางหลวงอ่างทอง
Angthong Highway
โครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน จังหวัดนครพนม
ลงวันที่ 25/09/2563
“ศักดิ์สยาม” บูมใช้ยางพาราที่นครพนม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเปิดโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน จังหวัดนครพนม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเปิดโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ณ บริเวณ ทล. 2033 ตอนคำพอก – หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมพิธี
ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเป็นไปตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเพื่อลดการบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนทางหลวง พร้อมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการนำยางพารามาเป็นส่วนผสมในการผลิตอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยในงานก่อสร้างในส่วนของงานกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท โดยมีแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยด้วย “แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต” (Rubber Fender Barrier : RFB) และ “หลักนำทางยางธรรมชาติ” (Rubber Guide Post : RGP) เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำยางพาราในประเทศ และสร้างสมดุลราคายางพาราให้เหมาะสมไปในคราวเดียวกัน
โดยการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดความรุนแรงและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ทาง ยังช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกรสวนยาง เพราะกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจะรับซื้อน้ำยางพาราโดยตรงจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทำให้งบประมาณดำเนินการตกไปอยู่ในมือเกษตรกรโดยตรง เพราะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งการผลิต RFB และ RGB ผลประโยชน์จะถึงมือเกษตรกรสวนยาง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคายางพาราอีกด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ทำบันทึกความตกลงกับกระทรวงเกษตรละสหกรณ์ เมื่อวันที่ ?12 มิ.ย. 2653 ที่ผ่านมา โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะช่วยเหลือในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต และการวางแผนการผลิตวัสดุด้านการจราจรทั้งสองชนิดให้ได้ตามปริมาณและมาตรฐานที่กระทรวงคมนาคมกำหนด
สำหรับปีงบประมาณ 2563 -2565 กระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะใช้ปริมาณน้ำยางพาราสดจำนวน 1,007,951 ตัน สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการผลิต ทั่วประเทศทั้งสิ้น 62 แห่ง รวมสมาชิก 355,181 ราย เกษตรกรที่ได้ประโยชน์ 1,420,724 คน ?

'